1. อบเชยเทศ
(Cinnamon)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum verum J.S.Presl วงศ์: Lauraceae ชื่อสามัญ :Ceylon cinnamon, Cinnamon tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum verum J.S.Presl วงศ์: Lauraceae ชื่อสามัญ :
2. แคสเซีย (Cassia)
อบเชยจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum aromaticum Nees วงศ์ : Lauraceae ชื่อสามัญ : Cassia bark, Cassia lignea
อบเชยญวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum
loureirii Nees วงศ์: Lauraceae ชื่อสามัญ: Saigon cinnamon, Saigon cassia
อบเชยชวา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum
burmanii (Nees) Blume วงศ์ : Lauraceae ชื่อสามัญ: Batavia cinnamon, Batavia cassia, Padang- cassia, Penang cinnamon
Cassia เป็นพืชที่มีเปลือกหอม
คล้ายกับ Cinnamon แต่มีความหนาและคุณภาพเปลือกต่างกัน เปลือกของ Cassia มีสีคล้ำ หนาและไม่เรียบ
โดยผิวเปลือกด้านนอกขรุขระและมีสีน้ำตาลเทา ส่วนเปลือกด้านในเรียบกว่า
มีสีน้ำตาลแดง Cassia มีราคาถูกกว่า Cinnamon
หน่อของ Cassia มีลักษณะคล้ายกานพลู หน่อที่ยังไม่แก่ที่แห้งมีความยาวประมาณ 14 mm.
Cassia มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศพม่า
และมีการปลูกมากในประเทศจีน แถบอินโดจีน ทางตะวันออกและตะวันตกของอินเดียและอเมริกากลาง
นอกจาก 3 ชนิด
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น Cassia ยังมีอีกหลายสายพันธุ์ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง อบเชยจีน อบเชยญวน และอบเชยชวา
เท่านั้น เนื่องจากทั้ง 3 เป็นสายพันธุ์ที่มีการค้าในตลาด โลก
อบเชยจีน
อบเชยจีนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
มีความสูงและขนาดของลำต้นมากกว่าอบเชยเทศ มีเปลือกหนาหยาบกว่า และสีเข้มกว่าอบเชยเทศ
โดยเปลือกต้นมีสีน้ำตาลแกมเทา กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้ามและเยื้องกัน ใบมีลักษณะคล้ายรูปหอกกว้าง 3-4 ซม. เป็นมันสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อ
ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวหรือสีขาวแกมเหลือง มีขนอ่อน ๆ ที่ก้านดอก ผลสดรูปวงรี ยาว
10-13 มม. เมื่อสุกสีม่วงดำ ผิวเลี้ยง เม็ดแข็ง เนื้อผลนิ่ม กลิ่นหอมฉุน มีรสขมเล็กน้อย
โครงสร้างของเปลือกอบเชยจีน
ภาพตัดขวางเปลือกอบเชยจีน |
เมื่อพิจารณาลักษณะทางจุลทรรศน์ของภาคตัดขวาง
(cross section) ของเปลือกอบเชยจีนจะพบชั้นคอร์กค่อนข้างหนา
ถัดเข้ามาเป็นชั้น cortex และ pericycle คล้ายกับที่พบในอบเชยเทศ
เมื่อดูผงแป้งใต้กล้องจุลทรรศน์จะพบชิ้นส่วนของคอร์ก
best fiber เม็ดแป้งกลมและขนาดใหญ่ (22 ไมโครเมตร)
ซึ่งทั้งขนาดและจำนวนจะแยกความแตกต่างของอบเชยจีนกับอบเชยเทศ และอบเชยชนิดอื่นๆ
ได้
อบเชยที่มีคุณภาพดีต้องได้จากต้นที่มีอายุ 10-12 ปี อบเชยจีนชนิดดีจะต้องได้จากแขนงที่ยังอ่อนอยู่และขึ้นบนชะง่อนผา
เมื่อลอกเปลือกออกมาจากเนื้อไม้แล้ว ทางด้านในของเปลือกมีเมือกเคลือบอยู่
ซึ่งจะต้องล้างเอาเมือกออกให้หมด เพราะถ้าทิ้งไว้จะทำลายกลิ่นของอบเชย
อบเชยญวน
อบเชยญวน
อบเชยญวนเป็นไม้ยืนต้น
ซึ่งมีลักษณะลำต้นคล้ายคลึงกับอบเชยจีนมาก ใบเป็นใบเดี่ยวค่อนข้างบาง รูปร่างยาวเรียว ปลายใบแหลม
ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมแต่หอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ แต่มีรสหวาน แต่ลักษณะผงแป้ง
จะพบเม็ดแป้งมากและขนาดใหญ่กว่า 10 ไมโครเมตร ผลึกเป็นรูปเข็มจะเห็น Secretion cell ปริมาณมากกว่าและใหญ่กว่าอบเชยชนิดอื่นๆ
อบเชยชวา
อบเชยชวาเป็นไม้ยืนต้นที่ใหญ่กว่าอบเชยที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด
สูงได้ถึง 20 เมตร เป็นอบเชยที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป
แต่นิยมเรียกกันว่าอบเชยเทศ ใบยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก
มีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าอบเชยเทศ
โครงสร้างของเปลือกอบเชยชวา
เมื่อพิจารณาลักษณะทางจุลทรรศน์ของอบเชยชวา
เมื่อดูภาคตัดขวางมีลักษณะคล้ายคลึงกับอบเชยชนิดอื่น ๆ
เมื่อพิจารณาจากผงแป้งจะเห็นความแตกต่างกับอบเชยอื่นๆ
อย่างเด่นชัดที่ผลึก Calcium oxalate จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือปริซึม แป้งพบได้น้อยมากและขนาดเล็กประมาณ 6-8 ไมโครเมตร
Cassia ที่นิยมนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย คือ Cassia
bark หรือ อบเชยจีน
ซึ่งองค์ประกอบทางเคมีของของน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากอบเชยจีน มีดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2 องค์ประกอบทางเคมีของของน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากอบเชยจีน
องค์ประกอบทางเคมี
|
คุณสมบัติ
|
|
ชนิด
|
ปริมาณ
|
|
cinnamic aldehyde
benzaldehyde
chavicol
linalool
cinnamyl acetate
|
87.00%
4.73%
0.33%
0.13%
0.08%
|
Stimulant
Antiseptic Antibiotic Astringent Carminative Digestive Emmenagogue Stomachic Insecticide Antispasmodic |
นอกจากองค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในตารางแล้ว
ยังมีองค์ประกอบทางเคมีอื่น คือ cinnamanic acid, phynylpropyl acetate, orthocumaric aldehyle, tannic acid และแป้ง
การที่อบเชยจีนมีแป้งอยู่มากเป็นข้อบ่งชี้ถึงความแตกต่างกับอบเชยเทศ นอกจากนี้ในน้ำมันจะไม่พบ
Eugenol เลย
ความแรงของกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย cassial อยู่ที่ระดับ 3 แต่ถ้าใช้เกณฑ์ของ Appell ความแรงของกลิ่นจะอยู่ที่ระดับ 7
Appell ได้จัดระดับความแรงของกลิ่นไว้ดังนี้
10 — Volcanic 9
— Incendiary
. 8 — Fiery . 7 — Burning
6 — Hot 5 — Picquant
3 — Medium 2 — Mild
1 — Delicate 0 — Neutral
เอกสารอ้างอิง
นันทวัน บุญยะประภัศรและอรนุช โชคชัยเจริญพร. 2542 . สมุนไพรพื้นบ้าน เล่ม 5. ประชาชื่น จำกัด กรุงเทพฯ
นิจสิริ
เรืองรังษี. 2534. เครื่องเทศ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สมคิด สิริพัฒนดิลก,
พันธุ์ศักดิ์ ถ่องแท้มุ่งเจริญ และ วิชาญ เอียดทอง. 2539.
รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง วิธีการขยายพันธุ์และการเก็บเกี่ยวเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ไม้มีค่าบางชนิดในสกุลอบเชย.สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร
****************