วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ดีหมี ชื่อของต้นไม้ค่ะ และ งิ้ว หนามไม่แหลมอย่างที่คิด

เมื่อวันหยุดที่ผ่านมาได้ไปปิคนิค  ที่วนอุทยานแห่งชาติเขาท่าเพชร อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี กับครอบครัวอีกครั้ง   ทางวนอุทยานฯจัดที่โต๊ะไว้ให้รับประทานอาหาร ใต้ร่มไม้ใหญ่ อายุร่วม 100 ปีได้มั้ง (ดูจากขนาดต้น)  ใกล้ๆกับจุดชมวิว  สังเกตเห็นป้ายชื่อพรรณไม้ที่อุทยานติดไว้ที่ต้นว่า "ดีหมี"  นึกในใจว่าชื่อแปลกดี ต้องเก็บภาพไว้ซะหน่อย  ต้นไม้อะไรสู้ง....สูง ราว 20กว่า เมตร  อดตื่นเต้นเล็กๆไม่ได้ ตั้งใจว่าต้องมาค้นทำความรู้จักเจ้าต้นไม้ต้นนี้ซะหน่อยแล้ว

อาหารกลางวันใต้ร่มไม้
หลังจากรับประทานอาหารมื้อระหว่างเที่ยงระหว่างบ่ายเสร็จ  ก็เดินไปกราบพระธาตุศรีสุราษฎร์ ที่ประดิษฐานบนเขาท่าเพชร  ถ้ามีใครเคยไปเขาท่าเพชร จะเห็นต้นพยอมใหญ่ 2 ต้นร่มรื่น สองข้างหน้าพระธาตุ เป็นต้นพยอมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถสิริกิติต์ทรงปลูกไว้เมื่อราวๆ 50 ปีที่แล้ว เป็นมิ่งมงคลแด่ชาวสุราษฎร์ธานี  

พระธาตุศรีสุราษฏร์


ตอนเดินขึ้นพระธาตุ เหลือบไปเห็นต้น .งิ้ว"  ขนาดเส็นผ่านสูงกลางราว 40 ซม. แต่สูงมาก  นึกในใจว่า  "ภาคใต้มีต้น งิ้ว ด้วยหรือนี่  คิดว่ามีแต่ภาคเหนือซะอีก"

ในไตรภูมิพระร่วง หรือภาพจิตกรรมฝาผนังตามวัดที่เขียนเล่าเรื่องนรกภูมิ มักวาดต้น งิ้วที่มีหนามแหลม ยาว  มีเปรตปีนป่าย บนต้นงิ้ว   แต่  ต้น งิ้ว จริงๆ หนามไม่แหลมและไม่ยาว  ไม่น่ากลัว แต่น่ามอง ต้นไม้ที่มีเปลือกตะปุ่มตะป่ำต่างจากต้นไม้อื่นๆ....นี่เป็นต้นไม้อีกต้นที่ต้องทำความรู้จัก

เสร็จจากกราบพระธาตุ เราก็หิ้ว ถือ มะละกอสุก  แตงโม และกล้วย ไปให้บรรดาลิง ชะนี  กระต่าย  นกยูง เหยี่ยว ที่ป่าไม้นำมาพักไว้ที่เรา 2 คนสามีภรรยาอุปโลกว่าเป็นเพื่อน และลูก  หั่นแตงโม  มะละกอเป็นชิ้นใส่ไว้ในตะแกรงอาหารของเขาให้หยิบกิน   บริเวณนี้พ่อแม่ชอบพาลูกๆมาดูลิง ชะนี  กระต่ายกัน  ชะนีและลิงบางตัวเชื่องมาก และเป็นมิตร  บางตัวจะเกเรหน่อยแต่ไม่ดุร้ายอะไร  บางตัวน่ารักมากมายอย่างลูกชะนีหางยาว (ตั้งชื่อน้องตาหวาน) น่ารักมากๆ กินอาหารเรียบร้อยมาก ไม่มูมมามเหมือนแม่   สัตว์บางตัวถูกทำร้ายมา อย่างนกเหยี่ยวที่ถูกยิง

กระต่าย
ชนีหน้าขาว ตั้งชื่อว่า เป๊บซี่

 ลูกค่างหางยาว ตั้งชื่อว่า ตาหวาน

ตาหวาน  ลูกค่างหางยาว เรียบร้อยน่ารัก


นกยูง มี 2 ตัว
นกเหยี่ยวที่ถูกทำร้ายจนปีกหัก และตาบอด 1 ข้าง

หลังจากเยี่ยมบรรดาลิง ค่าง ชนี แล้ว ฝนเริ่มตกปรอยๆ ก็ถึงเวลาได้กลับบ้าน และเริ่มทำความรู้จักต้นไม้ 2 ชนิดคือ ดีหมี และ งิ้วได้ซะที

ต้นดีหมี

ใน longdo.dict ได้ให้ความหมายของดีหมีไว้ว่า  เป็น ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น ชนิด Cleidion spiciflorum Merr. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นในป่า มีรสขม ใบคล้ายมะไฟ ใช้ทํายาได้  แต่ชื่อและวงศ์ของต้นดีหมี ที่ติดไว้ที่ต้นดีหมี ที่ เขาท่าเพชร  บอกว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Homalium sp. อยู่ในวงศ์ Flacourtiaceae

 

 จากการค้นข้อมูลจาก google พบว่าที่อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรินทร มีต้นดีหมีที่มีชื่อ Cleidion javanicum Blume และมีชื่อพ้องเป็น  Cleidion spiciflorum Merr. เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae ( ต้นดีหมี อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรินทร )  เช่นเดียวกับระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ ขององค์การสวนพฤษศาสตร์ (ต้นดีหมี ระบบสืบค้นพรรณไม้ อง๕ืการสวนพฤษศาสตร์)  จึงมีคำถามว่าระหว่างดีหมี  Homalium sp. อยู่ในวงศ์ Flacourtiaceae กับ ดีหมี Cleidion javanicum Blume และมีชื่อพ้องเป็น  Cleidion spiciflorum Merr. เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันหรือไม่  จึงลองใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalium sp.  ค้นดูพบว่า  ในวิกิพีเดีย มีพืชที่มีจีนัส Homalium sp. อยู่ถึง 28 ชนิด และพืชในจีนัสนี้เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลหรือวงศ์ Salicaceae  (Homalium sp. from wiki)  แต่เมื่อลองค้นหาโดยใช้ชื่อตระกูล Salicaceae พบว่า Flacourtiaceae  เป็นชื่อเดิมของ Salicaceae (http://en.wikipedia.org/wiki/Flacourtiaceae)  แสดงว่าทั้งชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อวงค์ที่ปรากฏบนต้นดีหมีที่ เขาท่าเพชร มีอยู่จริง แต่ใช่ต้นดีหมีชนิดเดียวกับที่อื่นหรือไม่



ต้นดีหมี
 



จากลักษณะของพืชในวงค์ Salicaceae หรือ Flacourtiaceae บอกว่าเป็นพืชในประเภท flower plant  แต่ต้นดีหมีที่อยู่บนเขาท่าเพชร ไม่น่าใช่พืชให้ดอก  แต่กลับไปมีลักษณะใบ ลำต้น ความสูง คล้ายกับดีหมีที่มีชื่อ  Cleidion javanicum Blume หรือ Cleidion spiciflorum Merr. ที่เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae คือมีลักษณะดังนี้

ลักษณะ     : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ก้านใบมีสีแสด มีผลคล้ายผลสมอ แต่
          พอสุกแล้ว จะมีสีดำ 
การเจริญเติบโต : มีเกิดตามป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ ไป 
สรรพคุณ    : เนื้อไม้มีรสขม รับประทานเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไขระงับความร้อน แก้ปวดศีรษะ 
       พิษไข้ ขับเหงื่อ


งิ้ว


ลักษณะเด่นของต้นงิ้วคือ ลำต้นมีหนามตะปุ่มตะป่ำทั้วทั้งลำต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์: Bombax ceiba L.) ชื่อสามัญ หรือช่ือถิ่น ได้แก่ งิ้วหนาม งิ้วบ้าน งิ้วแดง งิ้วปง งิ้วปงแดง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ลำต้นสูง 25-30 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากในช่วงเรือนยอด เป็นไม้เนื้ออ่อนมีหนามแหลมอยู่ตามลำต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 30 เมตร ความกว้างของทรงพุ่ม 15 เมตร รูปร่างทรงพุ่มเป็นรูปไข่ ลำต้นอยู่เหนือดินตั้งตรงได้เอง ผิวของลำต้นหนามอยู่รอบลำต้น เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนมีสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีเขียวเข้ม

ใบของต้นงิ้วเป็นใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย 3-7 ใบ ใบเป็นมันค่อนข้างหนา ใบย่อยรูปรีปลายใบเรียวแหลมเรียงกันคล้ายกับรูปนิ้วมือ มีสีเขียวไม่มีขน ก้านใบสีขาวมองเห็นชัดเจน เรียงสลับ ใบมีรูปรีถึงรูปไข่ ขนาดของใบ กว้างประมาณ 4 - 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 – 8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ดอก เดี่ยว ออกตามปลายกิ่งหรือปลายยอด 



ต้นงิ้ว
ต้นงิ้วมีลำต้นสูงกว่า 10 เมตร

ต้นงิ้วมีดอกสีแดงหรือสีแสด   กลีบรองดอกเป็นสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปถ้วยมนแข็ง กลางดอกมีเกสรซ้อนเรียงกันอยู่ 3 ชั้นดอกขนาดใหญ่ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอกอยู่ 3-5 ดอก ดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีขน ดอกบานจะเต็มที่ประมาณ 10 ซม มีลักษณะแข็งเลื่อมเป็นมัน  เกสรเพศผู้ เป็นเส้นยาวมีจำนวน มากเรียงกระจายเป็นวงรอบ สีขาวปนชมพู เกสรเพศเมีย จำนวน 1 อัน สีชมพู บริเวณปลายเป็นจุดสีเข้มมีความเหนียว รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ  ดอกงิ้วสดใช้เป็นอาหารได้  ทำเป็นดอกงิ้วชุบแป้งทอดกรอบ หรือยำดอกงิ้วก็อร่อย เมื่อมีดอกต้นจะทิ้งใบทั้งหมดส่วนกลางออกเป็นเกสรตัวผู้เรียง 3 แถว ยาวยื่นออกมาเป็นเส้นๆ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาล  เกสรดอกงิ้วแห้งนิยมใช้ใส่ในอาหารชนิดต่างๆของชาวเหนือ เช่นแกงแค   ขนมจียน้ำเงี้ยว
ผลรูปรีปลายแหลมยาว 6-8 นิ้ว เมื่อผลแก่จะเป็นสีน้ำตาลเปลือกผลแข็งเมื่อผลแก่จะมีปุยสีขาวปลิวออกมาตามลม เมล็ด เมล็ดสีดำ
สรรพคุณทางยา
เปลือกต้นช่วยบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการบวม จากการกระแทก รักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง บรรเทาอาการท้องเดิน แก้บิด อัมพาต เอ็นอักเสบ ดอกช่วยห้ามเลือด รักษาแผล ฝีหนอง บรรเทาอาการท้องเดิน บิดมูกเลือด ช่วยขับปัสสาวะ
รากหรือเปลือกรากใช้สมานแผล ห้ามเลือด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้อาเจียน 
ผลอ่อนใช้บำบัดรักษาแผลเรื้อรังในไต 

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติของวิตามินเอ และแคโรทีนอยด์


 เรารู้จักและใช้วิตามินเอ มาเป็นเวลานานแล้ว และต่างทราบกันว่า สารตั้งต้นวิตามินเอ ที่เรียกว่า 'โปรวิตามินเอ (Pro-Vitamin A)  คือแคโรทีน... เรามารู้จักที่มา และการค้นพบของวิตามินเอ และแคโรทีนกันค่ะ