วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ถ้าเป็นวิตามินแห่งความงามต้อง ยกให้ Pantothenic acid

SALE-BRATION- UP TO 60% OFF + 10% off

วิตามินแห่งความงาม Pantothenic Acid


กรดแพนโทเทนิค  (Pantothenic acid) หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ วิตามิน B5  นั้นเป็นวิตามินที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางมากที่สุด  รองลงมาคือ อาหารเสริมที่ใช้สำหรับลดความน้ำหนัก  และ ยารักษาโรคขาดวิตามิน B

กรดแพนโทเทนิค ที่ใช้ผสมในเครื่องสำอาง จะอยู่ในฟอร์มที่เป็น D-Panthenol  นิยมใช้ในเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิวและเส้นผมมากกว่า เนื่องจาก  D-Panthenol  มีสมบัติ surfactant effect สูง ทำให้ซึมซาบเข้าสู่ผิวได้ดี  ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว จึงทำหน้าที่เป็น skin protective agent  ในผลิตภัณฑ์ประเภท after-sun  ซึ่งกรดแพนโทเทนิคจะเป็นตัวเสริมวิตามินในผิวที่ถูกแสงแดดทำลาย

ในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม กรดแพนโทเทนิคทำหน้าที่เป็นสารให้ความชุ่มชื้นและช่วยปรับสภาพเส้นผม ป้องกันและซ่อมแซมเกล็ดเส้นผมจากการถูกทำลายด้วย สารเคมี ความร้อน และ แสงแดด จากการย้อมผม  การเป่าผม  การแปรงผม

ในทางการแพทย์ กรดแพนโทเทนิค ยังช่วยสมานแผลหลังการผ่าตัดได้ดี โดยไปกระตุ้นให้เซลล์เนื้อเยื่อเจริญเติบโตเต็มที่จนสามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้  ทำให้อาการอักเสบและบวมแดงลดลง


ปัจจัยใดที่ร่างกายต้องการกรดแพนโทเทนิค


ปริมาณกรดแพนโทเทนิคที่  RDI แนะนำ  คือ  วันละประมาณ  200  ไมโครกรัม  แต่โดยปกติแล้วร่างกายไม่ค่อยขาดวิตามินนี้  ยกเว้นคนที่ขาดอาหารและวิตามิน B อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายมีระดับของวิตามินนี้ลดลงถึง 25-30%      นอกจากนี้ผู้ที่รับประทานยาเม็ขึ้ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน ก็อาจมีผลทำให้ร่างกายต้องการวิตามินนี้มากขึ้น

อาหารที่มีกรดแพนโทเทนิค

วิตามิน B5 นี้พบได้ทั่วไปในพืช สัตว์ และจุลินทรีย์    พืชสีเขียวส่วนมากและจุลินทรีย์โดยเฉพาะยีสต์มีวิตามินนี้มากที่สุด   พืช ยีสต์และจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กสามารถสังเคราะห์วิตามินนี้ได้จากกรดคีตอยส์โววาเลอริค (ketoisovaleric acid)  และกรดแอสปาร์ติค (aspartic acid)

สำหรับในพืช สามารถพบวิตามินนี้ได้มากในเมล็ด (เช่นเมล็ดถั่ว 100 กรัม จะมีวิตามินนี้ประมาณ 2-5 มิลลิกรัม   ละอองเกสรดอกไม้ 100 กรัม  จะมีวิตามินนี้ประมาณ 3 มิลลิกรัม  ธัญพืช 100 กรัม  จะมีวิตามินนี้ประมาณ 1-2 มิลลิกรัม  ถ้าเป็นเมล็ดกำลังงอกจะมีปริมาณมากขึ้น) รองลงมาคือในผักและผลไม้ 

ผักใบเขียว  100  กรัม มีวิตามินนี้ประมาณ 0.1-0.5 มิลลิกรัม ขณะที่ผลไม้ 100 กรัม  มีวิตามินนี้น้อยกว่า 70 มิลลิกรัม  ผักที่มีวิตามินนี้มากเช่น บรอคโคลี่  ถั่ว  เห็ด  มันเทศ  อโวกาโด  อย่างไรก็ตามพบว่าการแปรรูปมีผลทำให้สูญเสียวิตามินนี้ไป ดังนั้นจึงควรบริโภคผักและผลไม้ที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด  สำหรับแหล่งวิตามินในเนื้อสัตว์ ได้แก่ ไข่แดง  ตับ และไต

กรดแพนโทเทนิค หรือวิตามิน B5 ในอาหารจะพบอยู่ในรูปของ โคเอนไซม์ เอ (coenzyme A)  เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าสู่ระบบการย่อยในลำไส้เล็ก  โคเอนไซม์ เอ จะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กกลายเป็น กรดแพนโทเทนิค ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด  และถูกนำไปใช้ในเนื้อเยื่อต่างๆ   ในกระแสเลือดจะมีวิตามินนี้เพียง 1 มิลลิกรัมต่อเลือด 1 ลิตรเท่านั้น  เมื่อวิตามินถูกดูดซึมเข้าสู่ภายในเซลล์เนื้อเยื่อ  กรดแพนโทเทนิค จะรวมตัวกลายเป็น โคเอนไซม์ เอ  อีกครั้ง

ส่วนวิตามินที่ไม่ถูกดูดซับเข้าสู่เซลล์เนื้อเยื่อจะถูกเก็บสะสมไว้ในตับ  ต่อมหมวกไต  ไต  สมอง  อัณฑะ  และ ส่วนที่ไม่ถูกเก็บสะสมร่างกายจะขับออกมาทางปัสสาวะ 70% และอุจจาระ  30%

กรดแพนโทเทนิค จะออกฤทธิ์เสริมกันกับ วิตามิน B1  วิตามิน B2  วิตามิน B12  วิตามิน C  กรดโฟลิค  Biotin  และ Niacin   และเสริมฤทธิ์ในการลดไขมัน เมื่อใช้ร่วมกับกรดไนโคตินิค  (nicotinic acid) หรือ สารยับยั้งเอนไซม์ HMG-coA reductase inhibitors   แต่การใช้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์


รูปแบบที่ถูกนำมาใช้เป็นยาและอาหารเสริม


ด้วยคุณสมบัติการออกฤทธิ์ทางด้านสุขภาพและความงาม  กรดแพนโทเทนิคจึงถูกนำมาใช้เป็นอาหารเสริมและยารักษาโรค  โดยมีการใช้ในฟอร์มต่างๆดังนี้

- เกลือแคลเซียม  หรือ calcium pantothenate USP/Racemic  clcium pantothenate USP
   รูปแบบนี้มีความคงตัวสูงกว่ารูปแบบอิสระ  และสามารถละลายน้ำได้ดี   เมื่อเข้าสู่ร่างกายจึงแตกตัวเป็นกรดแพนโทเทนิคอิสระ
- รูปที่เป็น Panthenol USP
   รูปแบบนี้มีความคงตัวต่ำในสภาวะที่เป็นกรด (พีเอช 3-6)  แต่สามารถถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหารได้ดี
-รูปที่เป็น Dexpanthenol USP
  รูปแบบนี้ใช้เป็นยารักษาโรคลำไส้เล็กไม่ทำงาน (paralytic ileus)  และภาวะอาการหลังผ่าตัดลำไส้เล็ก    และมักใช้ร่วมกับ โคลีน (choline) เพื่อลดอาการท้องอืด



 --------------------------------------------
Thai RDI (Thai Recommended Daily Intakes) หมายถึง ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี 

อ้างอิง
1. Combs, Gerald. The Vitamins: Fundamental Aspects in Nutrition and Health. Burlington: Elsevier Academic Press, 2008.
2. Tahiliani A.G. and Beinlich, C.J. Pantothenic acid in health and diesease. Vitamins and Hormones, 46: 165-228.